Pages

Friday, July 24, 2020

มุ่งมั่นพัฒนาวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขง พร้อมกับการวางรากฐานโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ยั่งยืน - ประชาชาติธุรกิจ

takmaulaha.blogspot.com

นับจากแรกเริ่มโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี เดินหน้าด้วยความมุ่งมั่นในโครงสร้างพื้นฐาน  ตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในด้านอุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง นำไปสู่การมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น   โดยวางเป้าหมายที่รายได้ครัวเรือนต้องไม่น้อยกว่า 1,800 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ 15 ล้านกีบต่อครัวเรือนต่อปี 

เป็นปฐมบทที่ทำให้เกิดงานวิศวกรรมอันยิ่งใหญ่จากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำภายในประเทศ บนรากฐานที่ให้ความสำคัญกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ด้วยการลงทุนทั้งด้านความปลอดภัย การดูแลสิ่งแวดล้อม ทั้งปลาสายพันธุ์น้อยใหญ่ การเดินทางของตะกอนเพื่อนำพาความอุดมสมบูรณ์อันไม่สิ้นสุด และที่สำคัญที่สุดคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนในพื้นที่ซึ่งอยู่ร่วมกันมากับโรงไฟฟ้าเป็นเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา 

แต่ถึงแม้การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี จะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเมืองของ สปป.ลาว อย่างเหมาะเจาะ แต่ทว่าในระยะแรกได้สร้างความกังวลให้กับผู้คนริมน้ำโขงอยู่ไม่น้อย  กระทั่งต่อมาเมื่อเริ่มการก่อสร้างจวบจนเปิดขายไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ โรงไฟฟ้าไซยะบุรี ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ และจริงใจ

เชื่อว่าวันนี้ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้ามีความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของโครงสร้าง รวมถึงการออกแบบที่เป็นมิตรและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และพร้อมจะเดินหน้าสร้างอนาคตไปด้วยกัน

เห็นได้จากจุดเด่นของโรงไฟฟ้ารูปแบบ ฝายทดน้ำ หรือ Run-of-River ที่ไม่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นี่เอง จึงมีชุมชนริมฝั่งโขงระหว่างแขวงไซยะบุรี และแขวงหลวงพระบางซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง ต้องทำการโยกย้ายสู่ที่จัดสรรโดยผู้พัฒนาโครงการ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลลาวมีจำนวนเพียงแค่ 3,000 คน   

ซึ่งการโยกย้ายและหยับย้าย  ซึ่งในภาษาลาวหมายถึงการขยับย้ายขึ้นไปในพื้นที่ที่สูงขึ้นจากระดับตลิ่งนั้น ยึดมั่นหลักการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโรงไฟฟ้า ย้ายแล้วต้องดีกว่าเดิม” เป็นอันดับแรก เป็นภารกิจใหญ่ของ CKPower ในฐานะผู้พัฒนาและบริหารโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี โดยดำเนินแผนการโยกย้ายและฟื้นฟูความเป็นอยู่ (Resettlement Action Plan-RAP) ตามนโยบายของรัฐบาล สปป.ลาว ภายใต้ความดูแลของ บริษัท พอนสะหวัน จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและพัฒนาชุมชนภายใต้แผนการโยกย้ายและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ทำงานประสานความร่วมมือกับหน่วยงานคุ้มครองการโยกย้ายจัดสรร ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลลาวอย่างใกล้ชิด เริ่มจากการวางแผนดำเนินการโยกย้ายอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

ช่วงก่อนการก่อสร้างผู้แทนรัฐบาล สปป.ลาว ได้ลงมาให้ข้อมูลและทำความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับผลได้-ผลเสียแก่ประชาชน รวมถึงเรื่องการชดเชยทรัพย์สิน พร้อมกับการหารือและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนท้องถิ่น จนเกิดความเข้าใจและเต็มใจย้ายที่อยู่ในที่สุด

ท่านสุเทพ พูจะนา ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมและสังคม บริษัท พอนสะหวัน จำกัด  อธิบายว่า รัฐบาลจะมี 2 กระทรวงใหญ่ที่ติดตามการดำเนินงาน คือ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการพัฒนาโรงไฟฟ้าโดยตรง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ว่าควรจะมีอะไรบ้าง 

“มีทีมงานสิ่งแวดล้อมภาครัฐตรวจติดตามผู้พัฒนาโครงการว่าทำตามพันธะสัญญาหรือไม่ เช่น ระยะก่อสร้าง 5-10 ปี ทำอะไรบ้าง และหลังจากการขายไฟฟ้าแล้วจะมีแผนพัฒนาอะไรบ้าง และมีการประเมินทุกไตรมาส  สุ่มตรวจสอบเป็นระยะ  โดยคณะกรรมการชุดใหญ่ที่เรียกว่า SC-Steering Committee มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่เป็นประธาน จะมีข้อตกลงของการพัฒนาโครงการและการโยกย้ายจัดสรร ตั้งแต่ระดับรัฐบาล และระดับแขวง ระดับเมือง เป็นลำดับ” ท่านสุเทพ กล่าว

นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพสำหรับพื้นที่โยกย้ายจัดสรรอย่างครบครันไม่ว่าจะเป็นถนน โรงเรียน สถานีอนามัย ตลาด อาคารที่ทำการหมู่บ้าน รวมทั้งจัดสรรพื้นที่เกษตรกรรมพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการทำกินอย่างเหมาะสม ทุกครัวเรือนจะได้รับที่ดินจัดสรรและสร้างบ้านให้ 1 หลัง ในเนื้อที่ประมาณ 600 ตารางเมตร พร้อมที่ทำกินอย่างเท่าเทียมกัน 

รูปแบบของหมู่บ้านโยกย้ายจัดสรร ตามแนวทางของรัฐบาล สปป.ลาว

เมื่อทุกอย่างมีความพร้อมการโยกย้ายหมู่บ้านแรกจึงเริ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2555 และทยอยย้ายหมู่บ้านอื่นๆ ตามการจัดกลุ่มหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ  ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยกัน

กลุ่ม 1 โยกย้ายถิ่นฐานทั้งหมด จะเป็นหมู่บ้านที่มีที่ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่ก่อสร้างโครงการ และหมู่บ้านได้รับผลกระทบจากระดับน้ำเอ่อถึงตลิ่ง 

กลุ่ม 2 เป็นหมู่บ้านที่มีบ้านประชาชนจำนวนหนึ่งต้องถูกขยับย้ายบางส่วน เพราะอยู่ต่ำกว่าระดับตลิ่ง หมู่บ้านกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ทำมาหากินได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่า “หยับย้าย” คือขยับบ้านจากที่ลุ่มขึ้นมาให้พ้นเขตน้ำเอ่อตลิ่งโดยยังได้รับการชดเชยและได้รับการดูแลตามแผนการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต

กลุ่ม 3 ไม่ได้โยกย้ายหรือหยับย้ายที่อยู่อาศัย แต่พื้นที่ทำกิน (พื้นที่ทำการเกษตร) ถูกกระทบจากการยกระดับน้ำ จะได้รับการจัดสรรที่ทำกินให้ใหม่ 

กลุ่ม 4 ได้รับผลกระทบเล็กน้อยในช่วงการก่อสร้าง เช่น เสียง ฝุ่น ถนนชำรุด ทางโครงการเข้าไปดูแลแก้ปัญหาต่างๆ ให้ตามความจำเป็น

ท่านสุเทพ กล่าวว่า ในเรื่องความช่วยเหลือ แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกคือการทดแทนและชดเชยทรัพย์สินของชาวบ้านตามอัตราที่กำหนดโดยรัฐบาล สปป.ลาว หลังจากนั้นจะมีการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานดูแลประชาชนในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างที่รอให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง ภาษาลาวเรียกว่า “ลุกใหม่ นั่งใหม่” โดยเข้าไปดูแลเลี้ยงดูเป็นเวลา 1 ปี ให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะอาด ใช้ไฟฟ้า และได้รับเงินช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ระยะต่อมาจะฟื้นฟูอาชีพทั้งระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความต้องการของประชาชนด้านอาชีพเพื่อสร้างรายได้และทำการฝึกอบรมอาชีพ พร้อมทั้งให้วัสดุและอุปกรณ์เพื่อการประกอบอาชีพนั้นๆ

“ข้าพเจ้าและทีมงานจะเป็นเหมือนพี่เลี้ยง คอยกำกับและติดตาม จนกระทั่งชาวบ้านสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง คือมีอาชีพที่เขาถนัด มีทักษะติดตัว ซึ่งการที่โยกย้ายราษฎรออกจากจุดเดิม ประกันได้เลยว่าชาวบ้านจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง มีรายรับต่อปีเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล คือไม่ต่ำกว่า 15 ล้านกีบต่อครัวเรือน อีกทั้งรายได้นั้นจะต้องมีเข้ามาสม่ำเสมอ ทั้งยังมีเรื่องของถนนและทางผ่านบ้านนี่คือสิ่งที่ชาวบ้านจะยิ้มกว้างที่สุด และหลังจากโรงไฟฟ้าเปิดอย่างเป็นทางการ สิ่งที่เราคาดหวังก็คือ “ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง” ท่านสุเทพ กล่าว  

ขณะที่ข้อมูลจาก ท่านสมหมาย แสนพันสิริ หัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองการโยกย้ายจัดสรร แขวงไซยะบุรี มีหน้าที่ติดตามดูแลการโยกย้ายจัดสรรของผู้พัฒนาโครงการ ตลอดจนรวบรวมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอจากชาวบ้าน เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการจัดสรรชุดใหญ่ นำสู่การแก้ไข ติดตามการทำงานของผู้พัฒนาโครงการให้เป็นไปตามข้อตกลงกับรัฐบาล สปป.ลาว  ระบุว่า ในเขตที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำ  ไซยะบุรี แต่เดิมถือเป็นเขตที่ห่างไกลความเจริญ ไม่มีเส้นทางคมนาคม ชาวบ้านจะสัญจรทางเรือเป็นหลัก ไม่มีไฟฟ้าและน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนการทำมาหากินจะเป็นการทำไร่เลื่อนลอย และหาปลาเป็นหลัก ในยามที่เจ็บป่วยต้องใช้เวลาเดินทางหลายชั่วโมงกว่าจะถึงตัวเมืองไซยะบุรี บางคนทนไม่ไหวเสียชีวิตกลางทางก็มี 

“ภายหลังมีโรงไฟฟ้าไซยะบุรี ประชาชนได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ผู้พัฒนาโครงการเข้ามาส่งเสริมอาชีพ ทำให้ชาวบ้านมีงานทำ ประชาชนดีใจที่เกิดโรงไฟฟ้าเพราะเขาสะดวกสบาย ลูกหลานได้เข้าโรงเรียน ครอบครัวมีเงินใช้ และเข้าถึงระบบสาธารณสุขมีความสุข นี่คือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ท่านสมหมายกล่าว

 จากการดำเนินงานที่เกิดขึ้นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้คนริมฝั่งโขงในพื้นที่โรงไฟฟ้าจะเต็มไปด้วยรอยยิ้มกว้างท่านหรั่ง อินทะวง อดีตนายบ้านห้วยซุย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษานายบ้าน บ้านนาตอใหญ่ เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมในหมู่บ้านห้วยซุยว่า หมู่บ้านเก่าของเราอยู่ห่างไกลตัวเมือง 35 กิโลเมตร เป็นบ้านป่าอยู่บนภูดอย ไม่มีถนนตัดถึง การเดินทางเข้าเมืองถ้าไม่พายเรือก็ต้องเดินข้ามภูเขา ไม่มีไฟฟ้า อาชีพก็ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ หาปลา ทำไร่เลื่อนลอยตามเขตแม่น้ำโขง หาได้พออยู่พอกินไปวันๆ 

“พอรู้ข่าวว่าจะก่อสร้างโรงไฟฟ้ากั้นแม่น้ำโขง ประชาชนก็เห็นดีด้วย ไม่ขัดข้อง ยอมย้ายกันด้วยดี รัฐบาลให้ก่อสร้างก็เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ มีไฟฟ้าขาย มีรายได้เข้าประเทศ”

อาชีพดั้งเดิมของชุมชน คือ การต้มเหล้า ได้รับการพัฒนาต่อยอดให้เป็น ODOP (One District One Product) ของแขวงไซยะบุรี

ส่วนการโยกย้ายจากบ้านป่าเข้ามาสู่เมือง ท่านหรั่ง บอกว่า ชาวบ้านต้องปรับตัว โดยมีทางโรงไฟฟ้าเข้ามาช่วยเหลืออย่างดี นอกจากเงินชดเชยที่ได้รับ ก็ยังมีน้ำกินน้ำใช้ มีโครงการสร้างบ้าน สร้างวัด โรงเรียน มีถนนหนทาง ทำให้เดินทางสะดวกมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

สำหรับหมู่บ้านนาตอใหญ่ เป็นหมู่บ้านแรกที่ได้รับการจัดสรรและโยกย้ายจากบ้านห้วยซุยเดิม มาตั้งอยู่ใกล้เมืองไซยะบุรีเพียง 4 กิโลเมตร  ในปี พ.ศ. 2555 

ที่นี่จึงเป็นเหมือนต้นแบบของหมู่บ้านโยกย้าย ทั้งทางด้านการส่งเสริมอาชีพ การปูพื้นฐานสาธารณูปโภค มีผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้ชาวบ้านก็คือ ต้มเหล้า เลี้ยงหมูดำ ทำส้มปลา และตำหูก      (ทอผ้า)

อาชีพทอผ้า ได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริม สร้างรายได้กลับคืนให้กลุ่มสตรีในหมู่บ้านนาต่อใหญ่ แขวงไซยะบุรี

แต่ในจำนวนหมู่บ้านโยกย้ายจัดสรรแต่ละหมู่บ้านจะมีจุดเด่นที่แตกต่างอย่างหมู่บ้านท่าเดื่อ มีจุดเด่นเรื่องการท่องเที่ยว เพราะใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำโขง มีน้ำตกตาดเจ้า มีความอุดมสมบูรณ์ของน้ำท่า และพื้นฐานของคนพื้นที่ชื่นชอบการให้บริการ 

ดังนั้น เมื่อมีการหยับย้ายที่บ้านให้ขึ้นไปอยู่ที่สูง การส่งเสริมอาชีพจึงเน้นด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิม โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ได้ปรับปรุงเส้นทางทางเข้าหมู่บ้านให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีอาชีพขับรถรับจ้าง เสริมสวย ตัดเย็บ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลากระชัง มีเรือนแพ และเกษตรกรรมอื่นๆ เช่น เพาะเห็ด ปลูกมะนาว และเลี้ยงสัตว์ 

ท่านเพ็ดสะหมอน สะหวัดดี รองนายบ้าน บ้านท่าเดื่อ บอกว่า หมู่บ้านท่าเดื่อเป็นหมู่บ้าน หยับย้าย 68 หลังคาเรือน ขยับจากพื้นที่ริมน้ำโขงขึ้นไปที่สูง ในตอนต้นมีความยุ่งยากเพราะชาวบ้าน กลัวว่าจะทุกข์ยากกว่าเดิม แต่ทางรัฐบาลได้ทำความเข้าใจและเก็บข้อปัญหาไปแก้ไข ทำให้การหยับย้ายราบรื่นในที่สุด 

“ความเปลี่ยนแปลงหลังจากย้ายมาอยู่ที่ใหม่ก็คือ มีความสะดวกมากขึ้น ชาวบ้านมีบ้านหลังใหญ่ขึ้น จากบ้านมุงหญ้าคาก็ได้บ้านใหม่มุงสังกะสี มุงกระเบื้อง มีที่ดินกว้างขวางขึ้น สร้างความดีอกดีใจให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่เหนือน้ำ” 

อาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง สร้างรายได้ให้ประชาชนที่อาศัยรอบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี

ท่านเพ็ดสะหมอน ย้ำอีกว่า รัฐบาล สปป.ลาว วางยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน ที่จะใช้ประโยชน์จาก  น้ำโขง จึงพิจารณาการก่อสร้างไฟฟ้าจากพลังน้ำเพื่อหารายได้เข้าประเทศ

“ข้าพเจ้าคิดว่าไม่มีอะไรที่จะดีกว่าวันนี้แล้ว โรงไฟฟ้าไซยะบุรีก็ไม่ได้สร้างผลกระทบมากมาย กลับกันชุมชนได้รับผลประโยชน์มากกว่า เพราะสามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้กับท้องถิ่น  ตามทิศทางของแผนพัฒนาของอนาคตที่จะสร้างเขตนี้ให้เป็นเขตท่องเที่ยวไม่ไกลหลวงพระบางมากนัก พื้นที่แถบนี้อาจจะมีท่าเรือใหญ่ ให้ประชาชนเดินทางไป-มาหลวงพระบาง เป็นโซนเศรษฐกิจที่จะเติบโตในอนาคต     ซึ่งขณะนี้เราเริ่มตั้งกลุ่มบริการขึ้นมา เช่น กลุ่มเรือนแพ ค้าขาย กลุ่มรถตู้บริการขนส่ง เพื่อเตรียมสำหรับแผนยุทธศาสตร์นี้แล้ว” 

ทั้งหมดนี้จะเป็นดังประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ “ชุมชน” กับ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี”    สปป.ลาว ที่จะก้าวเดินไปด้วยกัน พร้อมกับการพัฒนาวิถีชุมชนท้องถิ่นริมโขงอย่างยั่งยืน

Let's block ads! (Why?)



"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
July 24, 2020 at 06:01PM
https://ift.tt/2CzR8P9

มุ่งมั่นพัฒนาวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขง พร้อมกับการวางรากฐานโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ยั่งยืน - ประชาชาติธุรกิจ
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3

No comments:

Post a Comment