Pages

Saturday, September 26, 2020

SMEs ไทยในอุตสาหกรรมอาหาร เชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าโลกและอาเซียน - โพสต์ทูเดย์

takmaulaha.blogspot.com

SMEs ไทยในอุตสาหกรรมอาหาร เชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าโลกและอาเซียน

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) www.itd.or.th

อุตสาหกรรมอาหารถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในแง่การผลิต ซึ่งเชื่อมโยงไปยังเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ คือเกษตรกรรม และในแง่การบริโภค ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญให้กับนานาประเทศ โดยในปี 2562 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกอาหารอยู่ที่อันดับที่ 11 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกรวม 1.007 ล้านล้านบาท อีกทั้งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 การส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารของไทยยังคงเติบโตถึง 4.5% (YoY) ถึงแม้ทั่วโลกกำลังเผชิญสภาวะเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19

อุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ SMEs มีบทบาทสูง ในปี 2562 อุตสาหกรรมอาหารมีผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 127,378 รายคิดเป็น 99.4% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมดในอุตสาหกรรม โดยมีการจ้างงานสูงถึง 478,633 รายคิดเป็น 47.12% ของการจ้างงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมอาหาร SMEs ในอุตสาหกรรมอาหารยังสร้างผลผลิตมวลรวม (GDP) ประมาณ 262,685 บาท คิดเป็น 42.7% ของ GDP ในอุตสาหกรรมอาหารของไทย

SMEs ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล ผลไม้และลูกนัตที่บริโภคได้ และธัญพืช มีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ กลุ่มประเทศอาเซียนและจีน SMEs ไทยยังลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารในกลุ่มประเทศ CLMV เช่น ลงทุนด้านการเกษตรแบบ Contract Farming การเป็นตัวแทนสินค้าอุปโภคบริโภคของเมืองไทย และธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร

SMEs ไทยในอุตสาหกรรมอาหารมักจะมีบทบาทสูงในห่วงโซ่คุณค่าโลก  กลุ่มสินค้าผักและผลไม้แปรรูป เช่น ผักผลไม้กระป๋องและแช่แข็ง และผักผลไม้อบแห้งและกรอบ เป็นต้น สำหรับกลุ่มสินค้าผักผลไม้กระป๋องและผักผลไม้แช่แข็ง SMEs จะมีบทบาทหลักในการเป็นตัวกลางรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรและการเตรียมความพร้อมวัตถุดิบ เช่น การคว้านเมล็ด ส่วนบริษัทขนาดใหญ่จะดำเนินกระบวนการขั้นต่อมา เช่น การแปรรูปสินค้า การบรรจุกล่อง และการส่งออกสินค้า ตัวอย่างสินค้าในกรณีนี้ เช่น สัปปะรดกระป๋องและแปรรูป มะม่วงกระป๋อง เงาะบรรจุกระป๋อง และมะละกอแปรรูป ซึ่งถูกส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน เป็นต้น

สำหรับกลุ่มสินค้าผักผลไม้อบแห้งและกรอบ SMEs ไทยมีบทบาทสำคัญในการรวบรวมผลผลิตและยังมีแนวโน้มเป็นผู้นำกลุ่ม (Lead firms) ซึ่งควบคุมกระบวนขั้นต่อมา ได้แก่ การเตรียมความพร้อมวัตถุดิบ การอบแห้ง การบรรจุสินค้า และการกระจายสินค้าไปยังต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า SMEs ไทยในอุตสาหกรรมอาหารจะมีบทบาทสูงที่สุดในห่วงโซ่คุณค่าโลกของสินค้ากลุ่มผลไม้อบแห้งและกรอบ ตัวอย่างสินค้าในกรณีนี้ เช่น สัปปะรดอบกรอบหรืออบแห้ง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ซึ่งถูกส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป และญี่ปุ่น

นอกจากนี้ SMEs ในอาเซียนประเทศอื่นก็มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าแปรรูปไทยเช่นเดียวกันสำหรับกลุ่มสินค้าผักผลไม้กระป๋องและแช่แข็ง SMEs ในอาเซียนจะมีส่วนร่วมด้านการกระจายสินค้าและค้าปลีก เช่น สิงคโปร์จะมีบริษัทติดตราผลิตภัณฑ์ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ส่วนเวียดนามและมาเลเซียจะมีการนำเข้าสินค้าโดยใช้ตราผลิตภัณฑ์ของไทยและจำหน่ายในร้านค้าปลีก สำหรับกลุ่มสินค้าผักผลไม้อบแห้งและกรอบ SMEs ในอาเซียนจะมีส่วนร่วมด้านการเพาะปลูก รวบรวมผลผลิต กระจายสินค้า และค้าปลีก ยกตัวอย่าง สินค้ามะม่วงอบแห้ง ซึ่งผลมะม่วงได้รับการเพาะปลูกและรวบรวมในกัมพูชา ต่อมาได้รับการแปรรูปในไทย และถูกกระจายสินค้ารวมไปถึงค้าปลีก ในฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น 

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมอาหาร SMEs ไทยยังมีบทบาทในธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น ร้านอาหาร และภัตตาคาร โดยมี SMEs จำนวนทั้งสิ้น 333,809 ราย คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 99.9% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมดในบริการนี้ ในด้านการเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ธุรกิจร้านอาหารไทยบางรายขายแบรนด์หรือแฟรนไชส์ให้เปิดในต่างประเทศและดำเนินการโดยเจ้าของต่างชาติ เช่น ร้าน King of Thai ในอินโดนีเซีย ร้านนีโอสุกี้ โคคาสุกี้ และร้านบลูเอเลเฟ่น (Blue Elephant) แสดงให้เห็นว่า SMEs ไทยที่ทำธุรกิจบริการด้านอาหารมีความเชื่อมโยงกับ SMEs ในต่างประเทศ รวมไปถึงกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

อุปสรรคที่สำคัญของ SMEs ในการมีส่วมร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกในอุตสาหกรรมอาหารคือ การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ เช่น มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ซึ่งมีความเข้มงวดสูงในองค์ประกอบของสารเคมีและสารปนเปื้อนของสินค้า และมาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ซึ่งมีข้อกำหนดด้านสวัสดิการแรงงานและผลักดันให้วิสาหกิจลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ด้วยเหตุนี้ SMEs จึงอาจไม่สามารถเพิ่มบทบาทตนเองในห่วงโซ่คุณค่าได้โดยง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อรักษามาตรฐานสินค้า รวมไปถึงการไม่เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างครบถ้วน เช่น มาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนดแตกต่างกัน บริษัทขนาดใหญ่จึงยังมีบทบาทหลักในห่วงโซ่คุณค่าอยู่เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม การเข้าถึงข้อมูล และสามารถเป็นผู้นำกลุ่มควบคุมกระบวนการผลิตได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

เพื่อส่งเสริมบทบาทของ SMEs ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมอาหาร SMEs จะต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น SPS และ TBT ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จะมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลและความรู้ด้านตลาดสินค้าเกษตร และเชื่อมโยง SMEs ในอุตสาหกรรมอาหารกับบริษัทแปรรูปต่างๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าโลก

แชร์ข่าวนี้

Share on Google+

Let's block ads! (Why?)



"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
September 27, 2020 at 08:10AM
https://ift.tt/2FTYH4R

SMEs ไทยในอุตสาหกรรมอาหาร เชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าโลกและอาเซียน - โพสต์ทูเดย์
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3

No comments:

Post a Comment