เมื่อวันที่ 29 ก.ย. นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง วิศวกรไทยและประธานกรรมการบริหาร บริษัทด้านอุตสาหกรรมดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ เปิดเผยว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดาวเทียม HTS (high throughput satellite) กว่า 40% ผลิตโดย มิว สเปซ และ ผู้ผลิตภายในประเทศ คาดว่าจะสามารถปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจรภายในปี 2024 เพื่อให้ มิว สเปซ เป็นผู้ให้บริการดาวเทียมต่างชาติแห่งแรกของไทย เมื่อมีการเปิดเสรีดาวเทียม โดยดาวเทียมวงโคจรต่ำ หรือ LEO Satellite จะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบการสื่อสารในอนาคต อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาชาติ รวมไปถึงการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ 5G, Cloud storage, Online Transaction และความปลอดภัยในการทำธุรกิจต่าง ๆ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มั่นใจว่า มิว สเปซ คือทางเลือกใหม่ของคนไทย ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการให้บริการในทิศทางใหม่ๆ ได้อย่างตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างทั่วถึง พร้อมช่วยทำให้การรับส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพและเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายหลักของ มิว เปซ คือการพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อนำประเทศไทยมุ่งสู่ธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมอวกาศ อย่างเช่น โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ (Autonomous Robot) เพื่อใช้ในภารกิจทางด้านอวกาศในอนาคตอันใกล้ มิว สเปซ จึงมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถสนับสนุนการค้นหาทรัพยากร ประกอบกับการนำไปพัฒนาต่อยอดด้านการสื่อสารดาวเทียม ให้มีคุณภาพสูงแต่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบและสอดคล้องกับความต้องการในตลาดอย่างลงตัว รวมทั้งเป็นการ สร้างงาน สร้างโอกาส ขยายตลาดแรงงานทักษะสูง ตลอดจนถึงบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถ ในการยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของไทยสู่นานาชาติ สำหรับไฮไลท์ในการเปิดตัวนี้ คือ
แผนการสร้าง Spaceship หรือพาหนะทางอวกาศขนาดเล็กลำแรกของไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้าง Data Center นอกชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งสามารถลดปัญหาสำคัญของการสร้างศูนย์เก็บข้อมูล เช่น การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติการของระบบภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำ ซึ่งใช้ปริมาณมากถึง 40% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด การนำ Data Center ออกไปยังสภาวะอวกาศที่เย็นกว่า -270°C ทำให้สามารถกำจัดเรื่องของอุณหภูมิไปได้อย่างมาก
ใช้พลังงานบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ไม่พึ่งพาพลังงานจากโลก โดย Spaceship จะโคจรค้างฟ้า และรับพลังงานจากแสงอาทิตย์บริเวณใต้ท้องตลอดเวลา จึงสามารถปฏิบัติงานด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพลังงานจากโลก
ความปลอดภัย โดยทำให้ spaceship ที่ลอยค้างฟ้าและเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย constellation มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นบนโลก เช่น ไฟไหม้ หรือ น้ำท่วม ยิ่งไปกว่านั้น การเชื่อมต่อกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งโลก จะทำให้การเชื่อมต่อมีความลื่นไหลเข้าถึงได้ทุกมุมโลก
ในเดือนสิงหาคมที่ผ่าน มิว สเปซ ได้มีการทดสอบวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำมาสร้าง โดยทดสอบความแข็งแรงของวัสดุ จากการจำลองกระสุนปืนชนิดพิเศษ ที่มีความเร็วเทียบเท่ากับความเร็วของเศษขยะอวกาศ อยู่ที่ความเร็วมากกว่า 1,100 m/s ทั้งนี้ ผลทดสอบพบว่า ผ่านมาตราฐานการป้องกันกระสุนในระดับ 3 และมิว สเปซ ได้เตรียมสร้างโรงงานขนาดกลาง ภายในปลายปีนี้ เพื่อให้สามารถเริ่มผลิต Spaceship อย่างเต็มรูปแบบในปี 2021
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
September 29, 2020 at 08:16AM
https://ift.tt/2HwMYtc
'มิว สเปซ'เปิดแผนสร้างเทคโนโลยี ดันไทยสู่อุตสาหกรรมอวกาศ' - เดลีนีวส์
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3
No comments:
Post a Comment