Pages

Tuesday, August 11, 2020

บีโอไอชู “SMART Visa” ดึงบุคลากรคุณภาพสูงเข้าไทย - กรุงเทพธุรกิจ

takmaulaha.blogspot.com
บีโอไอชู “SMART Visa” ดึงบุคลากรคุณภาพสูงเข้าไทย

11 สิงหาคม 2563

12

ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามนโยบาย “Thailand 4.0” พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S - Curve) ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาช่วยสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ของประเทศ

รัฐบาลไทยจึงให้ความสำคัญกับการดึงบุคลากรที่มีทักษะและเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาทำงาน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เติบโตอย่างเข้มแข็งในประเทศไทย รัฐบาลได้มอบหมายให้บีโอไอเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับ SMART Visa และจัดตั้งหน่วย SMART Visa Unit ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกด้านนี้ ณ ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (OSOS)

SMART Visa เป็นวีซ่าประเภทพิเศษที่ให้สิทธิพิเศษแก่ชาวต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้บริหารระดับสูง นักลงทุน และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ สตาร์ทอัพ ซึ่งได้เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 เพื่อดึงดูดบุคลากรทักษะสูงและนักลงทุนที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม และกิจการเป้าหมายของประเทศ ซึ่งได้แก่

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
  • อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
  • อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
  • อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics)
  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
  • อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
  • อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
  • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
  • การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution)
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Human Resource Development in Science and Technology)
  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน (Environmental Management and Renewable Energy)

สำหรับประเภทของสมาร์ทวีซ่า มี 5 รูปแบบ สำหรับชาวต่างชาติ 5 กลุ่ม ได้แก่ SMART T” ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง (Talents / Highly-skilled Experts) SMART I” นักลงทุน (Investors) SMART E” ผู้บริหารระดับสูง (Senior executives) SMART S” ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup entrepreneurs) และ SMART O” คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ของผู้ได้รับสิทธิ SMART Visa

ทั้งนี้ ผู้ยื่นขอสมาร์ทวีซ่าแต่ละประเภท ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้

SMART Tatents” ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อเดือน หรือเทียบเท่า กรณีเป็นธุรกิจทั่วไป แต่ในกรณีที่เป็นบุคคลซึ่งมีสัญญาจ้างโดยวิสหากิจเริ่มต้นหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกษียณอายุแล้ว ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานในสถาบันภาครัฐ สถาบันการศึกษาและการระงับข้อพิพาททางเลือก ไม่กำหนดเงินได้ขั้นต่ำ

SMART Investors” มี 2 กรณี กรณีแรกกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท ในนามบุคคลในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ หรือในบริษัทเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Company) ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรัฐ กรณีที่สอง ลงทุนโดยตรงในนามบุคคล ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator)

SMART Executives” ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200,000 บาทต่อเดือน หรือเทียบเท่า คุณวุฒิระดับปริญญาตรีขึ้นไป และมีประสบการณ์ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี

SMART Startup” มี 3 กรณี (1) กรณีการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นซึ่งใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในลักษณะ Startup Camp ที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐ (2) กรณีเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) หรือโครงการอื่นในลักษณะเดียวกัน ซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นต้น และ (3) กรณีตั้งกิจการในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองว่าเป็นธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นต้น

สำหรับผู้ถือสมาร์ทวีซ่า จะได้รับสิทธิพิเศษหลายด้านด้วยกัน เช่น ได้รับสิทธิพำนักในประเทศไทยสูงสุดเป็นระยะเวลา 4 ปี รายงานตัวเพียงปีละ 1 ครั้ง (จากปกติต้องรายงานตัวทุก 90 วัน) สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คู่สมรสและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิการพำนักในประเทศไทยเช่นเดียวกับผู้ได้รับสิทธิหลัก เป็นต้น

ทั้งนี้ ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่นอกราชอาณาจักรสามารถยื่นขอสมาร์ทวีซ่าได้ รวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทยสามารถขอเปลี่ยนวีซ่าทั่วไปเป็นสมาร์ทวีซ่าได้ หากมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ตาม  ที่กำหนด โดยบีโอไอเปิดให้ชาวต่างชาติยื่นขอสมาร์ทวีซ่าในรูปแบบออนไลน์ (ระบบ SMART Visa Online) http://smart-visa.boi.go.th จะทราบผลภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันที่ SMART Visa Unit ได้รับเอกสารฉบับสมบูรณ์ ติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ OSOS อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 โทรศัพท์
0 2209 1100 อีเมล [email protected]  

บีโอไอให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณค่า เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานความรู้ และนวัตกรรม การให้สิทธิประโยชน์แก่บุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีขั้นสูงผ่าน SMART Visa เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยยกระดับประเทศเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

Let's block ads! (Why?)



"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
August 11, 2020 at 04:28PM
https://ift.tt/3kvPgI5

บีโอไอชู “SMART Visa” ดึงบุคลากรคุณภาพสูงเข้าไทย - กรุงเทพธุรกิจ
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3

No comments:

Post a Comment