Pages

Sunday, August 30, 2020

DTAC ไขข้อข้องใจทำไมต้องใช้ 5G บนคลื่นความถี่ 3500 MHz - ไทยรัฐ

takmaulaha.blogspot.com

5G ไทยผู้มาก่อนกาล

ประเทศไทยมี 5G ใช้งานก่อนใครในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งตอนนี้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย กำลังอยู่ในช่วงทดลองระบบและเตรียมความพร้อมก่อน โดยทั้ง 2 ประเทศนั้นใช้งาน 5G บนคลื่นความถี่ 3500 MHz 

"4G ของไทยมาในช่วงปลายๆ ของยุค ทำให้โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รองรับเทคโนโลยีนี้ได้ เห็นได้ชัดจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับ 4G ที่ราคาไม่แพงทำให้ผู้คนเข้าถึง 4G มากขึ้น ในส่วนของโอเปอเรเตอร์เองก็มีตัวเลือกอุปกรณ์ส่งสัญญาณ หรือเทคโนโลยีในการส่งสัญญาณได้มากขึ้น แต่ในส่วนของ 5G นั้นเรามาก่อนหลายประเทศ ทำให้การเลือกอุปกรณ์ และเทคโนโลยีนั้นมีข้อจำกัด ที่สำคัญ Device ก็มีให้เลือกน้อย และราคาค่อนสูง ซึ่งโจทย์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ Operator และ Regulator ต้องมาช่วยผลักดันกัน"

เมื่อมองไปที่ประเทศสิงคโปร์ เราจะพบว่า IMDA ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลของสิงคโปร์ ตั้งข้อสังเกตว่าเครือข่าย 5G NSA หรือ 5G Non-standalone จะถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย 4G ที่มีอยู่ และจะส่งผลให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมในบริการ eMBB หรือแค่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตบนมือถือเท่านั้น

แต่การที่จะนำศักยภาพของ 5G มาใช้อย่างเต็มที่ให้แตกต่างจาก 4G ซึ่งผู้ให้บริการจำเป็นต้องปรับใช้เครือข่าย SA หรือ 5G Standalone ตั้งแต่เริ่มต้นให้บริการ นอกจากนี้ยังช่วยลดลงทุนและระยะเวลาในการอัปเกรดเครือข่ายสู่ผู้ใช้งานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์มีความเห็นพ้องกับอุตสาหกรรมทั่วโลกว่า มีเพียงเครือข่าย 5G SA เท่านั้นที่จะทำให้ความสามารถ 5G มีที่สมบูรณ์แบบการใช้เทคโนโลยี 5G ที่มีความปลอดภัย และแม่นยำสูง และความหน่วงที่ต่ำ ซึ่งแตกต่างจากเครือข่าย 5G NSA ซึ่งสร้างขึ้นบนเครือข่าย 4G ที่มีอยู่และสามารถให้ความเร็วที่เร็วขึ้นเท่านั้น

ในขณะที่ระบบนิเวศอุปกรณ์สำหรับเครือข่าย SA ในย่านความถี่ 3500 MHz ได้รับการพัฒนามากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเครือข่าย 5G ของสิงคโปร์มีความพร้อมในอนาคตและสามารถส่งมอบความสามารถ 5G เต็มรูปแบบ IMDA ได้ใช้แนวทางมีการติดตั้งเครือข่าย 5G SA ในย่านความถี่ 3500 MHz ตั้งแต่เริ่มต้นนั่นเอง

ขณะที่ ประเทศมาเลเซีย ก็ให้ความสำคัญกับ 5G บนคลื่น 3500 MHz โดย National 5G Task Force หรือ คณะกรรมการที่กำกับดูแลรับผิดชอบ 5G ของมาเลเซีย ได้ระบุการใช้งานคลื่นความถี่ 3500MHz เป็นคลื่นหลักสำหรับ 5G และคลื่น 700 MHz

ในขณะนี้แม้จะยังไม่เปิดให้บริการ 5G แต่มีแผนการใช้คลื่น 3500 MHz ในการให้บริการในช่วงปี 2021 และคณะกรรมการที่กำกับดูแลรับผิดชอบ 5G ของมาเลเซีย มีแผนจะนำ 5G พัฒนาด้าน เมือง การรักษาสุขภาพ การศึกษา หรือ smart city, smart health และ smart education อีกด้วย 

ทำไมต้องใช้ 5G บนคลื่น 3500 MHz

1. บริษัทโทรคมนาคมทั่วโลกมากกว่า 70% ใช้คลื่น 3500 MHz เป็นย่านความถี่หลักสำหรับ 5G รวมถึงสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศหลักในการให้บริการ และพัฒนาสู่ 5G จึงทำให้เกิดระบบนิเวศของ 5G คลื่น 3500 MHz ที่มากกว่าจากทั่วโลกเลือกใช้งาน 3500 MHz

สำหรับคลื่น 2600 MHz นั้นมีเพียงผู้ให้บริการไม่กี่ประเทศในโลก เช่น ไชน่าโมบายล์ (China Mobile) บริษัท โทรคมนาคมของจีนใช้งาน 5G คลื่น 2600 MHz เป็นย่านความถี่หลัก ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์และระบบฮาร์ดแวร์ซอฟแวร์ รวมถึง use case ของ 5G จะถูกจำกัดกรอบให้แคบลงจากผู้ให้บริการไม่กี่ราย

2. คลื่น 3500 MHz สำหรับ 5G ที่นำมาใช้กับหลายประเทศทั่วโลกยังทำให้เกิดข้อดีของการประหยัด หรือ economy of scale ทั้งอุปกรณ์ผู้ให้บริการ และอุปกรณ์ของผู้ใช้งานทั้ง 5G ในอุตสาหกรรม ที่เป็น use case ต่างๆ และสมาร์ทโฟนสำหรับการใช้งานของผู้บริโภคทั่วไปที่จะมีราคาต่อหน่วยและความหลากหลายที่มากกว่า

3. หน่วยงานกำกับดูแลโทรคมนาคมและภาครัฐควรใช้หลักการผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ หรือ neutral technology principle มาเป็นนโยบายการพัฒนาคลื่นความถี่ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในเวทีเทคโนโลยีอย่างไม่สะดุด สิ่งนี้จะนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคในที่สุดทำให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้นและราคาไม่แพง

4. ความล่าช้าของการจัดสรรคลื่นความถี่ 3500 MHz จะมีค่าเสียโอกาสอย่างมากเช่นเดียวกับที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญในการจัดสรรคลื่น 2100 MHz สำหรับ 3G เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ 3G ในประเทศไทยช้ากว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลกราว 10 ปี

5. หน่วยงานกำกับดูแลควรมีแผนงานสำหรับการจัดสรรความถี่ที่แน่นอนโดยเฉพาะการระบุช่วงความถี่ที่ชัดเจนพร้อมการจัดสรรกรอบเวลา ที่สำคัญผู้กำหนดนโยบายต้องทำตามแผนงานอย่างชัดเจนมิฉะนั้นอาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสับสนวุ่นวายและการพัฒนาเศรษฐกิจล่าช้า

"คลื่น 3500 MHz ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นย่านความถี่หลักสำหรับ 5G ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประสานกันทั่วโลก จะทำให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก economy of scale ที่ประหยัดการลงทุนและจากการนำศักยภาพของ 5G มาใช้ได้อย่างเต็มที่ ปลดล็อกศักยภาพของ 5G ผู้ให้บริการแต่ละรายควรได้รับอนุญาตในการใช้งานคลื่นความถี่ระหว่าง 80-100 MHz ของย่านความถี่ 3500 MHz ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมต่อการให้บริการ 5G"

ในส่วนของดีแทคที่จะทำ 5G บนคลื่น 700 MHz ก็มีคืบหน้าไปพอสมควร สำหรับจำนวนสถานีฐานดีแทค แบ่งได้ดังนี้ 

- 2G มากกว่า 10,000 สถานีฐาน

- 3G ประมาณ 37,000 สถานีฐาน

- 4G มากกว่า 45,000 สถานีฐาน

- จำนวนสถานีฐานให้บริการ 4G TDD คลี่น 2300 MHz ซึ่งเป็นคลื่นของทีโอที มีจำนวนประมาณ 18,000 สถานีฐาน และจะขยายมากกว่า 20,000 สถานีฐาน ภายในสิ้นปี 63 นี้.

Let's block ads! (Why?)



"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
August 30, 2020 at 04:14PM
https://ift.tt/32BS5iN

DTAC ไขข้อข้องใจทำไมต้องใช้ 5G บนคลื่นความถี่ 3500 MHz - ไทยรัฐ
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3

No comments:

Post a Comment