Pages

Saturday, August 22, 2020

กองทัพอากาศจับมืออีอีซี พัฒนาอุตฯป้องกันประเทศ - กรุงเทพธุรกิจ

takmaulaha.blogspot.com

23 สิงหาคม 2563 | โดย วัชร ปุษยะนาวิน

54

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลอันดับที่ 11 ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิต การใช้ และสูงสุดคือการส่งออกเพื่อหารายได้ โดยพื้นที่ที่มีความน่าสนใจลงทุนคือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลอันดับที่ 11 ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิต การใช้ และสูงสุดคือการส่งออกเพื่อหารายได้ โดยพื้นที่ที่มีความน่าสนใจลงทุนคือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)

พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เปิดเผยระหว่างการการกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “กองทัพอากาศและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ” ว่า รัฐบาลควรจะจัดทำงบประมาณอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในภาพรวม และกระจายงบประมาณในส่วนนี้ให้กับกองทัพต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันประเทศในด้านที่เชี่ยวชาญ ในส่วนของกองทัพอากาศก็ได้กันงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อดำเนินตามยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศไว้แล้ว ซึ่งหากรัฐบาลมีงบประมาณในภาพรวมแบ่งมาให้รวมกับงบประมาณของกองทัพอากาศ ก็จะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น

“การที่ภาครัฐและกองทัพต่างๆ มีงบประมาณดำเนินงานที่ชัดเจนก็จะทำให้ภาคเอกชนมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่อีอีซี"   

 ทั้งนี้ เนื่องจาก เห็นถึงมูลค่าและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่กองทัพต้องการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างชัดเจนในระยะยาว แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่มีงบประมาณและแผนงานการจัดซื้อที่ชัดเจน เอกชนก็ไม่มั่นใจเข้ามาลงทุน โดยในส่วนของกองทัพอากาศคาดว่าจะใช้งบประมาณในการจัดซื้อประมาณ 5-6 แสนล้านบาทภายใน 10 ปี

159801826632

ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลในการซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆจากต่างประเทศ ซึ่งหากดำเนินตามแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ก็จะทำให้เกิดการสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงในไทย ที่จะนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่นๆได้อีกมากมาย และเกิดการคิดค้นเทคโนโลยีนวัตกรรมของตัวเอง ลดการพึ่งพาต่างชาติ และยังเกิดการจ้างงาน และสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญชั้นสูงได้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอุตสาหกรรมมั่นคงของชาติจะต้องใช้ปัญหาของคนไทยด้วย ไม่ใช่พึ่งพาปัญญาของต่างชาติเพียงอย่างเดียว

สำหรับเป้าหมายการพัฒนาของกองทัพอากาศ 20 ปี (2561-2580) ได้ตั้งอยู่บนแนวทางการรักษาความมั่นคงและรักษาผลประโยชน์ของชาติในผืนฟ้าอากาศ และไปถึงชั้นอวกาศ เพราะผลประโยชน์ในส่วนนี้มีมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกจะต้องพึ่งพาคลื่น 5จี และจะไปถึง 6 จี 7จี 8จี ในอนาคต รวมทั้งคลื่นความถี่มากมายที่ใช้เทคโนโลยีดาวเทียม ซึ่งเป็นหัวใจของการสื่อสารในโลกยุคใหม่

ดังนั้นกองทัพอากาศจะเข้าไปปกป้องความมั่นคงในส่วนนี้ รวมทั้งความมั่นคงทางไซเบอร์ ไปจนถึงชั้นอวกาศที่ในขณะที่ประเทศมหาอำนวจล้วนแต่ส่งดาวเทียมมากมายขึ้นไปจับจองพื้นที่ในอวกาศ เพื่อส่งดาวเทียมด้านต่างๆ เช่น นำทางจีพีเอส การสื่อสาร การทหาร การสำรวจ การทดลองวิทยาศาสตร์ และในด้านอื่นๆอีกมาก ดังนั้นไทยก็ต้องเร่งปรับตัวส่งดาวเทียม และมีโครงการด้านอวกาศ เพื่อจับจองพื้นที่ในอวกาศที่เป็นของคนไทย และรักษาความั่นคงของชาติ ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้

“กองทัพอากาศมองว่าในปี 2580 จะขยายขอบเขตเข้าไปปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และความมั่นคงไปถึงอวกาศ ซึ่งเป็นขอบเขตที่ยิ่งใหญ่ หากไทยไม่ขึ้นไปจับจองต่างชาติก็จะเข้าครอบครองทั้งหมด โดยในปีนี้ได้เตรียมส่งดาวเทียมของกองทัพอากาศ “นภา1” แต่จากภาวะอากาศที่ไม่เหมาะสมจึงต้องเลื่อนการปล่อยออกไป คาดว่าจะยิงขึ้นชั้นอวกาศได้ในช่วงเดือนเดือนก.ย.นี้ จากนั้นจะตามด้วย “นภา2” ซึ่งเป็นบันใดขั้นแรกในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศของกองทัพอากาศ”

ทั้งนี้ กองทัพอากาศยังได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพอากาศ โดยในปัจจุบันกองทัพอากาศได้จัดซื้อสินค้าอุปกรณ์ และยุทโธปกรณ์จากผู้ผลิตไทยแล้วประมาณ 10-20% และจะทยอยเพิ่มสัดส่วนให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับผู้ผลิตชาวไทย ที่จะต้องยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐานสูง และขยายไปสู่การผลิตอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง รวมไปถึงการผลิตซอฟท์แวร์ในด้านต่างๆ ที่ภาคเอกชนจะต้องเร่งพัฒนาคนขึ้นมารองรับเทคโนโลยีเหล่านี้

โดย ตลอดระยะเวลาที่ยาวนานในการพัฒนากองทัพอากาศ ทำให้มีความรู้ในการซ่อมสร้างอากาศยาน และการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้มีฐานความรู้อยู่มากพอสมควร ซึ่งกองทัพอากาศพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กับภาคเอกชนเข้ามาร่วมผลิตยุทโธปกรณ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ให้กับกองทัพ และขยายต่อยอดในสู่การผลิตสินค้าชั้นสูงอื่นๆ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ภาคเอกชนไทยพัฒนาไปได้เร็วขึ้น

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า ในโครงการ อีอีซี ได้มุ่งเน้นการพัฒนาใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่สามารถรวมกับโครงการในอีอีซี อื่นๆ เช่น เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) สามารถเข้ามาต่อยอดและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้มาก

โดย อีอีซี ยังอยู่ระหว่างการเจรจาดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทคอีกหลายด้าน เช่น การดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีอากาศยานชั้นนำที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ซึ่งได้ผลิตเครื่องบินต้นแบบไปแล้ว ให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย รวมทั้งการดึงดูดศูนย์วิจัยด้านต่างๆ เข้ามาในอีอีซี โดยในส่วนนี้จะข่วยเข้ามาเสริมความต้องการของกองทัพอากาศได้

สำหรับเป้าหมายการลงทุนภายใน 5 ปี ของอีอีซี จำนวน 1.7 ล้านล้านบาท ที่ผ่านมาได้เกิดการลงทุนไปแล้วกว่า 9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 55% ส่วนการลงทุนในปีนี้ คาดว่าคาดว่าส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 9 พันล้านบาท ส่วนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของเอกชนคาดว่าจะมีไม่มาก เพราะปัญหาโควิด-19 แต่คาดว่าในปี 2564 จะมีการลงทุนภาคเอกชนประมาณ 3 แสนล้านบาท

Let's block ads! (Why?)



"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
August 23, 2020 at 06:03AM
https://ift.tt/3gmkfTV

กองทัพอากาศจับมืออีอีซี พัฒนาอุตฯป้องกันประเทศ - กรุงเทพธุรกิจ
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3

No comments:

Post a Comment