“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้นำผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ของฐานการผลิตในประเทศไทยกับ CLMV หลังโควิด-19
โดยพบว่า อุตสาหกรรมไทยที่บุญหล่นทับหลังโควิด-19 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ด้าน IT เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องปรับอากาศ ฮาร์ดดิสก์ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และเครื่องมือทางการแพทย์ เนื่องจากไทยสามารถจัดการกับโควิดได้ดี และแรงงานมีคุณภาพ มีความรู้ มีฝีมือ มีทักษะในการผลิต ซึ่งผู้ประกอบการต่างชาติ มีแผนขยายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยเพิ่ม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการจีน (ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ด้าน IT) ผู้ประกอบการญี่ปุ่น (เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องปรับอากาศ) และผู้ประกอบการมาเลเซีย (ฮาร์ดดิสก์)
นอกจากนี้ มีผู้ประกอบการต่างชาติที่มีแผนย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย หลังโควิด-19 ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ อาทิ ผู้ประกอบการจีน (ผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง) และผู้ประกอบการญี่ปุ่น (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และเครื่องมือทางการแพทย์)
ทั้งนี้ “ผู้สื่อข่าว” มองว่า ประเด็นดังกล่าวจะส่งผลดีต่อบริษัทจดทะเบียนซึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน อาทิ DELTA HANA KCE ผลิตภัณฑ์ด้าน IT อาทิ ITEL ILINK AIT ALT FORTH INET JTS SAMART ถุงมือยาง อาทิ STA STGT ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาทิ DOD MEGA APCO และเครื่องมือทางการแพทย์ อาทิ BIZ TM
โดย นายอัทธ์ พิศาลวานิช เปิดเผยว่า จากผลการศึกษา “บุญหล่นทับหรือกรรมซ้ำเติม ฐานการผลิตไทยกับ CLMV หลังโควิด-19” พบว่า หลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ประกอบการต่างชาติให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้นในอันดับต้นๆ ในการตัดสินใจย้ายฐานการผลิต (ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 จากเดิมก่อนสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในอันดับที่ 11) ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังคงคำนึงถึงปัจจัยด้านต้นทุนต่ำเป็นปัจจัยหลักในการย้ายฐานการผลิต
อนึ่ง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการจำนวน 200 ตัวอย่าง แบ่งเป็นผู้ประกอบการไทยที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย 70% และผู้ประกอบการต่างชาติที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย 30%
ดังนั้น ไทยควรจะใช้โอกาสจากโรคระบาด ผลักดันส่งเสริมสนับสนุนและเน้นอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอางเพื่อสุขภาพ เครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสุขภาพและอาหารเพื่อสุขภาพของโลก ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยี AI วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
สำหรับอุตสาหกรรมไทยที่บุญหล่นทับหลังโควิด-19 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ด้าน IT เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องปรับอากาศ ฮาร์ดดิสก์ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และเครื่องมือทางการแพทย์ เนื่องจากไทยสามารถจัดการกับโควิดได้ดี และแรงงานมีคุณภาพ มีความรู้ มีฝีมือ มีทักษะในการผลิต ซึ่งผู้ประกอบการต่างชาติ มีแผนขยายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยเพิ่ม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการจีน (ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ด้าน IT) ผู้ประกอบการญี่ปุ่น (เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องปรับอากาศ) และผู้ประกอบการมาเลเซีย (ฮาร์ดดิสก์)
นอกจากนี้ มีผู้ประกอบการต่างชาติที่มีแผนย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย หลังโควิด-19 ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ อาทิ ผู้ประกอบการจีน (ผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง) และผู้ประกอบการญี่ปุ่น (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และเครื่องมือทางการแพทย์)
ส่วนอุตสาหกรรมไทยที่กรรมซ้ำเติมหลังโควิด-19 ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม แปรรูปอาหารทะเล/อาหารทะเลแช่แข็ง เครื่องจักรกล อาหารแปรรูป (สแน็ค/ขนมขบเคี้ยว และผักและผลไม้แปรรูป) เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีแผนจะย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแสวงหาแรงงานที่มีจำนวนมากและค่าแรงต่ำ แหล่งวัตถุดิบใหม่ที่มีคุณภาพใกล้เคียงไทยและราคาถูก และสิทธิประโยชน์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศที่ผู้ประกอบการไทยมีแผนจะขยายฐานการผลิตไปมากที่สุด คือ ประเทศเมียนมา (สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม แปรรูปอาหารทะเล/อาหารทะเลแช่แข็ง เครื่องจักรกล) รองมาคือ ประเทศเวียดนาม (แปรรูปอาหารทะเล/อาหารทะเลแช่แข็งอาหารแปรรูปประเภทสแน็ค/ขนมขบเคี้ยว)
ขณะที่สถานการณ์การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) พบว่า FDI ในไทย ปี 2562 มีมูลค่า 281,873 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีมูลค่า 255,605 ล้านบาท) ซึ่งมูลค่าการลงทุนจากจีนเพิ่มขึ้นเป็น 261,706 ล้านบาท จาก 12,457 ล้านบาท ในปี 2558 โดยเพิ่มขึ้นแซงญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ เมื่อพิจารณารายสาขา มูลค่าการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 12.8% เมื่อเทียบกับปี 2558
*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
August 13, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2XRDnm8
เปิดโผอุตสาหกรรม “บุญหล่นทับ” รับต่างชาติเล็งย้ายฐานมาไทยหนีโควิด - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3
No comments:
Post a Comment