Pages

Saturday, August 15, 2020

'มหาพรหมราชินี สดุดีพระพันปีหลวง' วว. จับมือหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐ/เอกชน จัดงานเทิดพระเกียรติ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

takmaulaha.blogspot.com

วันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สภาดอกไม้โลก จัดงาน“มหาพรหมราชินี สดุดีพระพันปีหลวง”ระหว่างวันที่ 8-12 สิงหาคม2563 โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรมปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ประธานในพิธีเปิดงาน โอกาสนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว., ชาวันย์ สวัสดิ์ชูโต ที่ปรึกษา สสว., สายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว., ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว., ศาสตรเมธี ดร.ปิยะเฉลิมกลิ่น อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว.,ภูเบศร์ เจษฏ์เมธี รองประธานสภาดอกไม้โลก, อาจารย์ ดร.คฑาชินบัญชร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดณ ลาน Crystal Court ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิตผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า งานนี้จัดขึ้นเพื่อร่วมกันเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. ในรูปแบบของนิทรรศการพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบโดย วว. และจัดแสดงผลงานกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SMEs ปี 2563 ของผู้ประกอบการในจังหวัดเลย เชียงใหม่ และนครราชสีมาอีกทั้งยังเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาอีกด้วย

ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ นิทรรศการพรรณไม้ที่ค้นพบและได้รับพระราชทานนามโดย วว. พร้อมทั้งพรรณไม้ดอกไม้ประดับจากผู้ประกอบการคลัสเตอร์ในพื้นที่จังหวัดเลย นครราชสีมา และเชียงใหม่โดย ภูเบศร์ เจษฏ์เมธี รองประธานสภาดอกไม้โลกการบรรยายพิเศษจาก อาจารย์ ดร.คฑาชินบัญชร เรื่อง “คลัสเตอร์ มหัศจรรย์พรรณไม้เพิ่มพลังชีวิต” การสาธิตจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ การสาธิตการเปลี่ยนสีดอกไม้การเบลนด์ชาดอกไม้ การจัดช่อดอกไม้การจัดสวนถาดไม้อวบน้ำแนวใหม่ การหล่อกระถางปูนสำหรับกระบองเพชรและพืชอวบน้ำการจัดสวนในขวดแก้ว การจัดพานแบบไทยเด็ดดอกไม้มาแปลงเป็นจานเด็ด การร้อยมาลัยถวายสดุดี การจัดดอกไม้เพื่อเป็นของขวัญการจัดทำของที่ระลึกจากไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น รวมทั้งการจำหน่ายพรรณไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ดอกไม้ประดับ ส่วนกิจกรรมสำคัญที่พลาดไม่ได้ คือ เชิญชวนให้ประชาชนชาวไทยร่วมสร้างปฏิมากรรมดอกไม้สด 8,888 ดอก เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา(12 สิงหาคม 2563) นับเป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่มีต่อปวงชนชาวไทย

สายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวถึงความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีการเกษตรของ วว. อย่างครบวงจรว่า ที่ผ่านมาวว.ได้ค้นพบพรรณพืชชนิดใหม่ของโลก โดยพรรณไม้ชนิดแรก คือ จำปีสินธร ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliasirindhorniae Noot & Chalermglinเมื่อเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2543 สำรวจและค้นพบบริเวณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรีเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย ขึ้นแช่น้ำอยู่ในป่าพรุน้ำจืด ส่วนพรรณไม้ชนิดที่ 2 คือ มหาพรหมราชินี ได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2549 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora sirikitiae Weersooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders มหาพรหมราชินี สำรวจค้นพบได้บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จ.แม่ฮ่องสอน มหาพรหมราชินีนอกจากจะเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกแล้วยังเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemicSpecies) ที่พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นพรรณไม้ชนิดที่ 3 คือ มะลิเฉลิมนรินทร์ที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2555 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าJasminum bhumibolianum Chalermglinมีความหมายว่า “มะลิเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน” สำรวจค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. 2552สำรวจค้นพบได้บริเวณเนินเขาหินปูนเตี้ยๆที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 715 เมตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย

นอกจากพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่ได้รับพระราชทานนาม ทั้ง 3 ชนิด วว. ยังได้ค้นพบพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย ประกอบด้วย จำปีศรีเมืองไทย (จ.เพชรบูรณ์) จำปีเพชร(จ.เพชรบุรี) จำปีช้าง (จ.เชียงใหม่) จำปีดอย บุหรงดอกทู่ ปาหนันเมืองกาญจน์ (จ.กาญจนบุรี)ปาหนันแม่วงก์ (อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร) ปาหนันร่องกล้า(อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าจ.พิษณุโลก) อนุพรหม ซึ่งทั้งหมดได้ทำการค้นพบโดย ศาสตรเมธีดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. ซึ่งพรรณไม้ที่ค้นพบโดย วว. นั้นนอกจากวงศ์กระดังงาและวงศ์จำปีจำปาแล้ว ยังมีพรรณไม้วงศ์อื่นๆ ในวงศ์ชาฤๅษี อาทิ เศวตแดนสรวง บุหงาการะเกตุ เนตรม่วง และสุดดีดาว นอกจากนี้ยังได้มีการรวบรวมพรรณไม้สกุลมหาพรหม เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดย ดร.อนันต์พิริยะภัทรกิจ นักวิจัย สังกัดศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ เป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์คัดเลือก และขึ้นทะเบียนพันธุ์ลูกผสมชนิดใหม่ๆของพืชสกุลมหาพรหม ลักษณะเด่น ดอกมีขนาดใหญ่มีกลิ่นหอม สามารถออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี มากกว่า 10 สายพันธุ์ โดยมีลักษณะสวยงามแตกต่างกันออกไป เช่น พรหม วว. 1(Phrom TISTR 1) พรหม วว. 2 (Phrom TISTR 2) และอีกหลายสายพันธุ์ ซึ่งถูกจัดแสดงอยู่ในนิทรรศการนี้ด้วย

Let's block ads! (Why?)



"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
August 15, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2Y2lOQe

'มหาพรหมราชินี สดุดีพระพันปีหลวง' วว. จับมือหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐ/เอกชน จัดงานเทิดพระเกียรติ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3

No comments:

Post a Comment