nn หลังจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) พฤติกรรมการบริโภค การทำงาน รูปแบบการใช้ชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไปซึ่งก่อนหน้านี้เราเคยได้ยินเรื่องการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวดเร็ว มีคำถามว่าคนไทยควรปรับตัวอย่างไรถึงจะทันต่อสถานการณ์ แต่ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่คนไทยจะพร้อมในการปรับตัว จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา เหมือนเป็นการปรับเปลี่ยนทุกอย่าง และเมื่อประเทศไทยต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนาน ดังนั้นการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยี เกือบจะทุกจังหวะชีวิต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ที่จะทำให้ไทยมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีมากที่สุดเพื่อชีวิตวิถีใหม่...
คุณพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาทุกคนต้องอยู่บ้าน ดูหนัง ทีวี ละครย้อนหลัง เปลี่ยนการใช้ชีวิต ในการทำงานก็ต้องใช้อินเตอร์เนตบ้าน แอพพลิเคชั่นหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ คนที่ไม่เคยใช้ก็ต้องเริ่มใช้คนที่ใช้อยู่แล้วก็ต้องใช้มากกว่าเดิม โดยเฉพาะคนไทยพร้อมมาก ในช่วงหยุดเชื้อเพื่อชาติ ทุกอย่างถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบใหม่ คนสั่งอาหารมาทานที่บ้าน ทำงานที่บ้าน เข้าระบบประชุมออนไลน์ ประเทศไทยโชคดีที่ก่อนหน้านี้เรามีการวางโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย internet ท่อระบบไฟเบอร์ออพติก ทำให้เราพร้อมสำหรับ New Normal
“คำถามคือเราจะใช้ประโยชน์อย่างไรจากเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากที่สุด” และผมคิดว่า New Normal ของประเทศไทยคือ ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็จะเชื่อมโยงกับเรื่องสาธารณสุขทั้งหมด เป็นจุดขายของประเทศ เพราะเราได้พิสูจน์แล้วว่าเราสามารถควบคุมและรักษา โควิด-19 ได้ดีอันดับต้นๆ ของโลกกระทรวงดิจิทัลฯ มีหน้าที่แก้ปัญหา แก้กฎหมาย ผลักดันทำทุกอย่างเราต้องทำงานให้หนักขึ้น เรียนรู้ให้เร็วขึ้น เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3-4 เดือนนี้ เช่นเราจะสามารถทำข้อมูลคนไข้ไปรวมใน cloud ได้หรือไม่เวลาไปโรงพยาบาลคนไข้ก็เอาเพียงบัตรประชาชนไปเสียบ เพื่อให้ได้ข้อมูลคนไข้ออกมาให้คุณหมอทำการตรวจ เราเริ่มดำเนินการจากโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ทั้ง ศิริราช รามาฯ จุฬาฯ มานั่งประชุมกันและกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นเจ้าภาพในการเอาข้อมูลมารวมซึ่งข้อมูลนี้จะไม่มีใครใช้ได้จนกว่าคนไข้จะยินยอมอนุญาต
ส่วนเรื่องแอพพลิเคชั่นที่ประเทศไทยไม่เคยคิดว่าต้องมี ช่วงโควิด-19 กระทรวงดิจิทัลฯ ก็พัฒนาตั้งแต่ AOT Airport ที่ให้คนที่เดินทางเข้าไทยลงทะเบียนช่วยในการควบคุมการกักตัว ล่าสุดกระทรวงดิจิทัลฯ ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มพัฒนาไทยชนะขึ้นมา เพื่อให้ข้อมูลสถานที่เสี่ยง อย่างเช่น Card2U ก็มีคนเข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก หากต้องเปิดประเทศก็ต้องมีแอพพลิเคชั่นในการที่จะรู้ได้ว่านักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศนั้นเดินทางไปไหน เจอใครบ้าง เพื่อจะสอบสวนโรค ตรวจสอบเพื่อไม่ให้โรคกระจายออกไป และสิ่งที่เน้นย้ำตลอดที่ได้ทำงานตรงนี้คือเรื่องของ Fake news center เพราะคนไทยต้องรับรู้เท่าทันว่าอะไรเป็นข่าวปลอมเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนขึ้นในสังคม ซึ่งขณะนี้เรากำลังทำในเรื่องของอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) ร่วมทำงานกับภาคสังคม ซึ่งเร็วๆ นี้ จะมีการสำรวจสำมะโนประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลของประชาชนทุกตำบล ด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล และในอนาคต อสด. จะเป็นตัวกลางในการไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ เพื่อจะได้ทราบข้อมูลว่าประชาชนต้องการอะไร ส่วนศูนย์ดิจิทัลชุมชน เป็น 1 ในโอกาสของคนทั่วไปในชุมชน ที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Wi-Fi เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เราได้งบประมาณมาทำศูนย์ดิจิทัลชุมชน 250 จุดทั่วประเทศ และจะเร่งให้เสร็จภายในปี 2563 นี้และจะทำต่อเนื่องเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงดิจิทัลสำหรับคนที่มีโอกาสน้อยกว่า
ส่วนเรื่องของอันดับ International Institute for Management Development (IMD) ด้าน IT ที่ดีขึ้น นั้นต้องบอกว่า วันนี้โลกเปลี่ยนไป สถาบันต่างๆ มีการตั้งเกณฑ์ดูตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจด้านดิจิทัลมากขึ้น ที่จะประเมินไปประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ซึ่งตัวเลขของประเทศไทยดีขึ้นโดยเฉพาะเครือข่ายการวางโครสร้างพื้นฐานที่กระจายไปทุกจังหวัด มีความครอบคลุมเครือข่ายครบถ้วนแต่ความช้าเร็วอาจต่างกันไป ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เป็นหน่วยงานของกระทรวงดิจิทัลฯ ต้องวางยุทธศาสตร์หากตัวชี้วัดยังไม่เป็นเกณฑ์ที่พอใจ ต้องพัฒนาอะไรเพื่อให้ปัจจัยของตัวชี้วัดนั้นพัฒนาขึ้น ซึ่งต้องไปดูว่าอะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องเร่งแก้ไขเพื่อจะสะท้อนเป็นตัวเลขการชี้วัดความพร้อมกับประเทศ แต่ก่อนเราอาจจะปล่อยตามธรรมชาติ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราต้องเรียนรู้ แก้ไข ใครที่ไม่รู้ก็ต้องรู้ ใครไม่ได้ใช้ก็ต้องพัฒนาให้มีโอกาสได้ใช้ ยิ่งใช้ได้มาก ตัวเลขการชี้วัดความพร้อมของไทยก็จะสูงขึ้นด้วย
สอดคล้องกับปัจจุบันที่ประเทศไทยยังมีการพัฒนาแรงงานทักษะสูงในด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง วันนี้เราพัฒนาเป็นการเน้นที่อุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะด้าน ต้องใช้ฝีมือของแรงงานอุตสาหกรรมจึงอาจต้องย้ายไปประเทศอื่นที่มีความเหมาะสม มีแรงงานราคาถูก แต่ประเทศไทยต้องการแรงงานที่มีคุณภาพ ใช้ฝีมือ อุตสาหกรรมด้านดิจิทัล ซอฟต์แวร์ ชิ้นไมโครชิฟจะเข้ามาที่ไทยมากขึ้น เพราะเราเน้นทักษะ high skill เรามีพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีรายได้มากขึ้น จึงสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวมขึ้นมารองรับอาจจะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ๆ มีการจ้างแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้น ได้ค่าแรงสูงขึ้น หากเรายังอยู่ที่เดิมค่าแรงอาจไม่สูงมากประเทศเราก็จะไม่พัฒนา
“นับจากนี้ ไม่ว่าใครก็ตามจะมาลงทุนในไทยวันนี้เรามีปัจจัยใหม่ที่คนลงทุนต้องพิจารณาคือเรื่องระบบรักษาพยาบาล ความปลอดภัย ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้มาเดี่ยวๆ แต่มาพร้อมเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะ
New Normal ที่จะเกิดในไทย คือ 5G ที่ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถเปิดประมูล การใช้ 5G จริงและมีการวาง cell site ไว้แล้ว ต่อไปนี้จะทำให้ดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่รวดเร็วขึ้น พัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์รวดเร็วขึ้น การพัฒนาระบบ AI ระบบ Big Data ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มี 5G เป็นพื้นฐานรองรับในการพัฒนาต่อยอดในอนาคต ซึ่งหน่วยงานที่จะสนับสนุนให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุดคือหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะดีมากหากเรามีระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกันทันสมัยรวดเร็ว ซึ่ง 5G จะตอบโจทย์ทุกอย่าง” คุณพุทธิพงษ์กล่าว
กระบองเพชร
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
July 15, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/3h0c942
คอลัมน์โลกธุรกิจ - เทคโนโลยีดิจิทัลสำคัญมากกับชีวิตวิถีใหม่ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3
No comments:
Post a Comment