Pages

Monday, September 21, 2020

Automation Park ความร่วมมือครั้งใหม่ สนับสนุนอุตสาหกรรมไทยก้าวไกลอย่างยั่งยืน - มติชน

takmaulaha.blogspot.com

ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะกับภาคอุตสาหกรรม อันเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จนทำให้เรื่องนี้ถูกหยิบยกมาเป็นแนวคิดหลักของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังได้กลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) ด้วย

ด้วยความสำคัญนี้ EEC จึงเดินหน้าร่วมมือกับพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ อันเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญของการพัฒนากำลังคนให้เพียงพอและพร้อมรับมือกับภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล เพื่อพาประเทศไทยเดินหน้าสู่ต่อไปได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

โดยจัดตั้ง Automation Park ในพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาทักษะบุคลากร และถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรภาคอุตสาหกรรม และยกระดับภาคการผลิตของประเทศไทย ด้วยการลดช่องว่างระหว่าง Professional Technology และ Information Technology ที่จะนำไปสู่ระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงช่วยให้การปฏิบัติงานปลอดภัยขึ้น และลดระยะเวลาการทำงานของพนักงานด้วย

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เปิดเผยว่า การร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีในครั้งนี้ ไม่ใช่การมุ่งเน้นพัฒนาเครื่องจักรให้ทันสมัย แต่จะเน้นไปที่การพัฒนากำลังคนและความรู้ของคน ทั้งในระบบอุตสาหกรรม ระบบการศึกษา และในประชาชนทั่วไป โดยจะสร้างฐานความรู้ให้เหมาะสมกับชีวิตใหม่ของคนรุ่นใหม่ ผ่าน Automation park ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีกันได้อย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม EEC มีโครงการพัฒนาบุคลากรลักษณะนี้กับทุกมหาวิทยาลัยในพื้นที่ แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดการก่อตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาคนตั้งแต่ระดับการศึกษา นับเป็นโครงการตัวอย่างแห่งความพยามยามของทุกภาคส่วนที่มีเป้าหมายร่วมกัน คือ สร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยมีความร่วมมือในหลากหลายรูปแบบ อาทิ

  • จัดทำ Learning Center แหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอุตสาหกรรม 4.0 e-F@ctory model-line

โดยร่วมกับบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จัดทำโมเดลจำลอง Smart Factory บ่มเพาะทักษะสำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่ใช้งานได้จริงเพื่อใช้เป็นต้นแบบไลน์การผลิตเพื่อก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยแนวคิด e-F@ctory ที่สนับสนุนการพัฒนาโรงงานให้เป็น Smart Factory อย่างแท้จริง ผสานระหว่างระบบ Factory Automation และระบบไอที โดยมุ่งเน้นการเชื่อมต่อของข้อมูลแบบเรียลไทม์ ในทุกระดับชั้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึง Supply Chain ตลอดจนช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการ

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการบริหาร บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า มิตซูบิชิมองว่าการพัฒนาเรื่อง Smart factory เกิดจากฟันเฟืองหลัก 3 ข้อ คือ Machine Automation, Digital Engineering และสิ่งที่สำคัญสุดคือ Human Knowledge ถ้าหากมีปัจจัยครบทุกข้อแล้ว จะทำให้เกิดระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งสองข้อแรกเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมมีพร้อมแล้ว ขาดก็แต่บุคลากรและความรู้ที่จะมาบริหารจัดการอีโคซิสเต็มนี้ จึงได้ร่วมมือกับ EEC และพันธมิตร เร่งพัฒนากำลังคนให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อพาประเทศเดินไปข้างหน้า

“การขับเคลื่อน Human Knowledge เราคงไม่สามารถทำคนเดียวได้ เราต้องจับมือกับทั้งภาครัฐ และภาคการศึกษา จึงมองว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นโมเดลของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างบุคลากรคุณภาพออกมาภาคอุตสาหกรรม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายจะสามารถสนองนโยบายของภาครัฐในเรื่องของไทยแลนด์ 4.0 ได้ เพื่อร่วมกันสร้างอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนในอนาคต เพราะหากเรายิ่งสร้างคนได้เร็วเท่าไหร่ ธุรกิจก็จะไปได้ไกลเท่านั้น”

  • Training Center

จัดให้มีการอบรมระยะสั้น เพื่อ Upskill และ Reskill เพื่อตอบรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม อาทิ การอบรม เรื่อง PLC และ Robotics การเพิ่มทักษะด้าน Digita lSkill เช่น การเขียนโปรแกรม การสร้างระบบ IoT รวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ตรงต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

  • Co-Working Space

เปิดพื้นที่แห่งความร่วมมือ ในการพัฒนาระบบการผลิตระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ จากงานวิจัยระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยใช้ Automation Park เป็นโชว์เคสสำคัญ

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่นอกจากการเรียนการสอนแล้ว เรายังมุ่งเน้นการทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ โดยโครงการ Automation Park เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ในการร่วมมือของหลายๆ หน่วยงาน อย่าง EEC เอง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางการวางระบบ ส่วนม.บูรพา เป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จึงมีหน้าที่ที่จะต้องตอบสนองต่อโครงการนี้ โดยใช้ศักยภาพ และทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนงานของ EEC ให้เดินหน้าและประสบความสำเร็จ ซึ่งเรายังได้ภาคเอกชนอย่างมิตซูบิชิมาร่วมด้วยอีกแรง นำเอาวิชาชีพและประสบการณ์จริงมาฝึกคน

ที่นี่มีอุปกรณ์ มีความร่วมมือ มีสนามทดลอง ที่ให้สถาบันการศึกษาอื่น ๆ มาใช้ร่วมกันได้ เพราะหากต่างคนต่างสร้าง ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยมี ม.บูรพาเป็นผู้ดูแล นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“จุดเริ่มต้นในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ครั้งสำคัญของประเทศชาติ เพราะมีเบื้องหลังเป็นการสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ในการพัฒนากำลังคนให้สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม จากเดิมที่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเดิน เราก็เปลี่ยนมาเดินไปด้วยกัน มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า Automation Park จะเป็นสมบัติของประเทศ ที่ช่วยในการเพิ่มศักยภาพของคนรุ่นใหม่ได้”

  • ต่อยอดสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ EEC ยังได้ต่อยอดความร่วมมือไปสู่องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ไปไกลยิ่งขึ้นด้วย โดยได้รับความร่วมมือองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย (เจโทร กรุงเทพ) ในการเป็นตัวกลางสร้างความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่น

  • โดย นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย (เจโทร กรุงเทพ) กล่าวว่า Automation Park เป็นตัวอย่างอันดีของการร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นและรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งทางญี่ปุ่นยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยินดีจะให้ความร่วมมือกับประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมไทยต่อจากนี้ทางเจโทรก็มีโครงการที่ตั้งใจจะดำเนินขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนประเทศไทยด้วย ผ่านโครงการ JETRO Robot Automation ที่จะมีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป้น 3 ระยะ คือ
    1. พฤศจิกายน 2563 – เปิดตัวเว็บไซต์โครงการ เพื่อนำเสนอประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้ แนะนำผู้ผลิตหุ่นยนต์บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นมีบริษัทด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก แต่ยังไม่มีพื้นที่ที่รวมไว้ในที่เดียว เลยตั้งใจสร้างเว็บไซต์รวบรวมไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล
    2. ธันวาคม 2563 – จัดสัมมนาออนไลน์ เรื่องผู้ผลิตหุ่นยนต์ และการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นการขยายภาพของเว็บไซต์ให้เห็นชัดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงและนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานได้มากที่สุด
    3. มกราคม 2564 – จัดการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัทในประเทศไทยและบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจากประเทศญี่ปุ่น

    “เจโทร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันอรรถประโยชน์ของหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติของบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย และร่วมผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทางโครงการฯ โดยจะมีบริษัทภาคเอกชนของญี่ปุ่นที่เข้าร่วมโครงการมากมาย นำทีมโดย Mitsubishi Electric Corporation, DENSO WAVE INCORPORATED ,FANUC LTD., Kawasaki Heavy Industries, Ltd., NACHI-FUJIKOSHI CORP. และ YASKAWA Electric Corporation”

    ท้ายนี้ ดร.คณิศ กล่าวทิ้งท้ายว่า “แม้ปัจจุบัน Automation Park เพิ่งแล้วเสร็จไปเพียง 30% แต่จากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เชื่อมั่นว่าที่แห่งนี้จะเป็นตัวอย่างของการก้าวไปข้างหน้า แบบก้าวกระโดดของภาคอุตสาหกรรมไทย และจะทำให้ทุกคนได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ”

Let's block ads! (Why?)



"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
September 22, 2020 at 10:26AM
https://ift.tt/2ZXRXtA

Automation Park ความร่วมมือครั้งใหม่ สนับสนุนอุตสาหกรรมไทยก้าวไกลอย่างยั่งยืน - มติชน
"ด้านอุตสาหกรรม" - Google News
https://ift.tt/2XRQMK3

No comments:

Post a Comment